"ชาติพันธุ์กะเหรี่ยง" กับการต่อต้านกองทัพเมียนมา อันยาวนาน
ล่าสุดมีรายงานความคืบหน้าสำคัญที่แนวรบด้านตะวันออก นั่นก็คือกองกำลังชาติพันธุ์สามารถเข้าถึงเขตพะโคทางภาคกลางตอนล่าง ซึ่งมีพื้นที่ติดกับจุดศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศอย่างเขตย่างกุ้งได้แล้ว
วานนี้ (5 ธ.ค.) สำนักข่าวอิรวดี สื่ออิสระของเมียนมาได้รายงานว่า กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกระเหรี่ยงหรือ KNLA ปีกการทหารของสหภาพแห่งชาติกระเหรี่ยงหรือ KNU และกองกำลังปกป้องประชาชนหรือ PDF สามารถเข้ายึดเมืองโมนในเขตพะโคของประเทศเมียนมาได้สำเร็จแล้วเมื่อวันจันทร์ที่ 4 ธ.ค.
ชนกลุ่มน้อยสนธิกำลัง 1,200 นาย บุกเข้าตียึดค่ายทหารเมียนมา
แหล่งข่าวเผย เมียนมาอาจจัดเลือกตั้งในปี 2025
ที่นี่ถือเป็นเมืองแรกในเขตพะโคที่ฝ่ายต่อต้านสามารถยึดไปจากการควบคุมของทหารเมียนมาได้การสู้รบของ KNLA และ PDF เพื่อยึดฐานที่มั่นของกองทัพเมียนมาในเมืองโมนเริ่มต้นตั้งแต่คืนวันเสาร์ที่ 2 ธันวาคม
กองกำลังทั้งสองร่วมเปิดปฏิบัติการด้วยการโจมตีเป้าหมายต่างๆ ของกองทัพเมียนมาเช่น กองพันทหารราบเบาที่ 590 และ 599 สถานีตำรวจกลาง และจุดตรวจเข้าเมืองของฝ่ายกองทัพเมียนมา ด้านสหภาพแห่งชาติกระเหรี่ยงระบุว่า ทั้งสองฝ่ายสูญเสียกำลังไปเป็นจำนวนมากจากการต่อสู้ครั้งนี้
ขณะเดียวกัน ทหารพม่าจำนวนไม่น้อยก็ได้ยอมจำนนต่อกองกำลังฝ่ายต่อต้าน โดยหลังจากกองกำลัง KNLA และ PDF สามารถเข้ายึดฐานที่มั่นของกองทัพพม่าได้ทั้งหมด มีนายทหารของกองทัพเมียนมา17 นาย ซึ่งในจำนวนนี้มีนายทหารระดับผู้บัญชาการกองพันรวมอยู่ด้วยที่ออกมายอมแพ้
อย่างไรก็ดี โฆษกของ KNU ออกมาระบุว่า สหภาพแห่งชาติกระเหรี่ยงไม่ต้องการยึดครองเมืองโมน แม้ว่าที่นี่จะมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์เนื่องจากมีเส้นทางที่มุ่งไปสู่ศูนย์กลางสำคัญของรัฐบาลทหารอย่างเนปิดอว์ได้ โดยจุดประสงค์ของปฏิบัติการที่เพิ่งประสบความสำเร็จไป เป็นไปเพื่อขับไล่กองทัพเมียนมาออกจากตำแหน่งที่มั่นเท่านั้น
ทั้งนี้ การที่กองกำลังฝ่ายต่อต้านเข้าถึงเขตพะโคได้ถือเป็นหมุดหมายสำคัญ เพราะเขตพะโคมีพื้นที่ติดกับเขตย่างกุ้ง ศูนย์กลางการค้าและเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งมีความสำคัญเป็นอันดับสองรองจากเมืองหลวงคำพูดจาก สล็อต true wallet
ล่าสุดมีความเคลื่อนไหวเกิดขึ้นในเขตย่างกุ้ง สำนักข่าว APF รายงานว่า ขณะนี้ที่ย่างกุ้งกำลังเผชิญปัญหาน้ำมันขาดแคลน โดยมีรถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์หลายสิบคันกำลังเข้าคิวเพื่อรอเติมน้ำมันตั้งแต่ช่วงเช้า พนักงานปั๊มน้ำมันรายหนึ่งระบุว่า น้ำมันขาดแคลนอย่างมาก ทำให้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาไม่สามารถเปิดให้บริการเพื่อขายน้ำมันได้
ขณะเดียวกัน สถานการณ์ขาดแคลนน้ำมันในย่างกุ้งยังเกิดขึ้นท่ามกลางการโจมตีของฝ่ายต่อต้านกองทัพเมียนมาที่ค่อยๆ ปรากฏขึ้นประปราย
ถือเป็นหนึ่งในจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ นับตั้งแต่พลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย เข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนของนางอองซานซูจีเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2021 หลังจากกองกำลังชาติพันธุ์จับมือกันโจมตีกองทัพเมียนมาจากทุกด้านในหลายรัฐตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคมที่ผ่านมากองกำลังชาติพันธุ์ประกอบได้ด้วย 3 กลุ่มหลักๆ คือ กองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมา (MNDAA) ซึ่งเป็นของกลุ่มชาติพันธุ์โกก้าง กองทัพปลดปล่อยตะอางหรือปะหล่อง (TNLA) และกองทัพอาระกัน (AA) ที่รวมตัวกันในนาม “กองกำลังพันธมิตรภราดรภาพ” เปิดฉากโจมตีกองทัพเมียนมาจากทุกด้าน โดยใช้ชื่อปฏิบัติการ 1027
สำหรับด้านตะวันออก แนวรบสำคัญอยู่ที่รัฐคะเรนนีหรือรัฐกะยา ซึ่งอยู่ติดกับจังหวัดแม่ฮ่องสอนของไทยก่อนที่แนวรบจากขยายลงมาที่รัฐกระเหรี่ยง และเข้ามาประชิดเขตพะโคได้ในที่สุด ในรัฐกระเหรี่ยงมีกองกำลังหลายกลุ่ม
ที่ใหญ่ที่สุดกลุ่มหนึ่งคือสหภาพแห่งชาติกระเหรี่ยงหรือ Karen National Union (KNU) และกองกำลังหรือปีกการทหารที่ชื่อว่า กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกระเหรี่ยง หรือ Karen National Liberation Army (KNLA)
ชาติพันธุ์กระเหรี่ยงสู้รบกับรัฐบาลพม่ามาตั้งแต่ปี 1949 หรือ 74 ปีมาแล้ว โดยมีข้อเรียกร้องคือ สิทธิในการปกครองตนเอง
การสู้รบหนักๆ ในช่วงทศวรรษ 50 ถึง 60 มักเกิดขึ้นบริเวณแนวชายแดนไทยเป็นหลัก ช่วงหนึ่งที่รุ่งเรืองที่สุดของสหภาพแห่งชาติกระเหรี่ยงหรือ KNU คือ ช่วงปี 1976 ภายใต้การนำของนายพลโบเมี๊ยะ มีฐานบัญชาการอยู่ที่เมืองมาเนอร์ปลอว์ ไม่ไกลนักจากชายแดนไทย ฐานที่เมืองมาเนอร์ปลอว์ถูกตีแตกเมื่อปี 1995 ตามมาด้วยการแยกตัวออกเป็นหลายกลุ่ม บางกลุ่มไปเข้ากับกองทัพเมียนมา เกิดเป็นความขัดแย้งร้าวลึก
เข้าสู่ปี 2011 เมียนมาเริ่มเปิดประเทศ รัฐบาลกึ่งพลเรือนที่นำโดยนายพลเต็งเส่งประกาศเจรจาสันติภาพกับกองกำลังชาติพันธุ์ทั่วประเทศ KNU เข้าร่วมการเจรจาด้วย นำไปสู่ข้อตกลงหยุดยิงของชาติพันธุ์รวม 10 กลุ่ม และกลายเป็นจุดเปลี่ยนของสงครามกลางเมือง
การต่อสู้อย่างตามแนวชายแดนไทย-เมียนมาจึงเริ่มสงบลง ก่อนจะเริ่มร้อนระอุขึ้นอีกครั้งในปี 2021 เกือบจะทันทีที่กองทัพเมียนมาที่นำโดยนายพลมินอ่องหล่าย ยึดอำนาจเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ปี 2021 กลุ่มชาติพันธุ์กระเหรี่ยงลุกขึ้นประกาศต่อต้านการยึดอำนาจและเปิดหน้ารบกับกองทัพเมียนมาอย่างเปิดเผย
หลังการก่อรัฐประหารไม่กี่วัน ปรากฏภาพของทหาร KNU เดินนำหน้าชาวกระเหรี่ยงในจังหวัดเมียวดีที่ออกมาทำอารยะขัดขืน เดินขบวนประท้วงให้กองทัพพม่าปล่อยตัวนางอองซานซูจีและคืนอำนาจให้ประชาชน หลังจากนั้นก็เปิดฉากต่อสู้กับกองทัพเมียนมาหลายครั้งในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และล่าสุดคือการเข้าร่วมปฏิบัติการ 1027
ส่วนสถานการณ์การสู้รบด้านตะวันออกที่สำคัญอีกจุดอยู่ในรัฐกะยา ซึ่งอยู่ติดกับรัฐกระเหรี่ยง และมีชายแดนอีกด้านติดกับจังหวัดแม่ฮ่องสอนของไทย ที่นี่เป็นฐานที่สำคัญของกองกำลังป้องกันแห่งชาติกระเหรี่ยงแดงหรือ KNDF และกองกำลังปกป้องประชาชนหรือ PDF
กองกำลัง PDF เป็นคนรุ่นหนุ่มสาวชาวพม่าที่ลุกขึ้นมาต่อต้านการยึดอำนาจของกองทัพเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ก่อนที่จะถูกปราบปรามอย่างหนักและตัดสินใจเข้าป่าเพื่อจับอาวุธขึ้นสู้กับรัฐบาลทหาร โดยจำนวนมากหนีไปทางตะวันออกของประเทศและเข้ารับการฝึกอาวุธกับกองกำลังชาติพันธุ์อย่างเช่น KNDF
ในแนวรบด้านนี้ PDF จับมือกับ KNDF กำลังต่อสู้กับทหารพม่าอย่างดุเดือด ส่วนหนึ่งของภาพการสู้รบที่เผยแพร่ออกมาเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน โดยในวันนั้น ทหารพม่าที่ได้รับบาดเจ็บจากการต่อสู้ได้เข้ามอบตัวกับกองกำลัง KNDF และ PDF จุดการต่อสู้ที่สำคัญในรัฐกะยาหรือคะเรนนีคือ เมืองลอยก่อ ซึ่งเป็นเมืองเอกของรัฐ
ล่าสุดทาง KNDF และกองกำลัง PDF ระบุว่า ได้ยึดพื้นที่ 1 ใน 3 ของลอยก่อได้แล้ว โดยขณะนี้ได้ตั้งฐานที่มั่นอยู่ทางตะวันออกของเมือง และกำลังต่อสู้กับทหารพม่าอย่างหนักเพื่อยึดพื้นที่ที่เหลือ
สมาชิกของ KNDF และ PDF บอกด้วยว่า กองทัพเมียนมาหันไปใช้เครื่องบินรบโจมตีเนื่องจากไม่สามารถเอาชนะในการรบภาคพื้นดินได้ส่วนพลเรือนที่อยู่ในพื้นที่ที่ทหารเมียนมายึดครองก็ถูกห้ามไม่ให้ออกจากพื้นที่ ขณะที่กว่าร้อยละ 70 ของประชาชนที่อาศัยในเมืองลอยก่อได้กลายเป็นผู้พลัดถิ่นไปแล้ว
การต่อสู้หนักอีก 2 จุดคือ บริเวณรัฐฉานทางเหนือ โดยเฉพาะในเขตปกครองพิเศษโกก้าง ซึ่งเป็นฐานที่มั่นของกองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติพม่า (MNDAA) หรือกองทัพโกก้าง ที่นี่ติดกับมณฑลยูนนานของจีน มีเมืองเอกคือเมืองเล่าห์ก่าย
หลังกองทัพโกก้างเปิดศึกเมื่อวันที่ 27 ตุลาคมที่ผ่านมา การสู้รบที่เมืองเล่าห์ก่ายจึงดุเดือด ส่งผลให้ประชาชนต้องอพยพหนีออกจากเมือง จำนวนมากอพยพไปเมืองเล่าเสี้ยว (Lashio) ซึ่งอยู่ถัดลงมาทางตอนใต้
ล่าสุดวันนี้สำนักข่าวอิระวดีรายงานโดยอ้างข้อมูลจากกองกำลัง MNDAA ของกลุ่มชาติพันธุ์โกก้าง โดยระบุว่า MNDAA สามารถยึดฐานทัพบนยอดเขาของกองทัพพม่าซึ่งมีที่ตั้งอยู่นอกเมืองเล่าห์ก่ายได้ทั้งหมดแล้ว หลังจากสู้รบมาเป็นเวลา 3 วันสำหรับภาพรวมของการปฏิบัติการทางการทหารในรัฐฉานตอนเหนือตลอดช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา
สำนักข่าวอิระวดี รายงานว่า กองกำลังชาติพันธุ์สามารถยึดเมืองสำคัญที่เคยอยู่ในความปกครองของกองทัพเมียนมาไว้ได้หลายเมือง เมืองที่กองกำลังชาติพันธุ์สามารถยึดได้ทางภาคเหนือได้แก่ เมืองโก (Monekoe) ชินฉ่วยห่อ(Shinshwehaw) น้ำคำ (Namkham) พองแสง (Phuangsai) และกุ๋นหลง (Kunlong)
ขณะที่ด้านตะวันตก การสู้รบหนักอยู่ที่รัฐยะไข่ ฐานที่มั่นของกองทัพอาระกันหรือ AA การสู้รบหลักอยู่ที่เมืองเพ้าก์ตอว์ ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองซิตตะเว เมืองเอกของรัฐยะไข่ประมาณ 25 กิโลเมตร
กองทัพอาระกันได้บุกเข้ายึดเมืองได้เมื่อ 10 วันที่ผ่านมา หลังจากนั้นกองทัพเมียนมาก็เปิดฉากโจมตีอย่างหนักเพื่อยึดเมืองคืน ขณะนี้ประชาชนในเมืองเพ้าก์ตอว์ต้องอพยพหนีภัยจากการสู้รบ
5 ธันวาคม นอกจาก “วันพ่อแห่งชาติ” ยังเป็น “วันดินโลก”
YG Entertainment แจ้งตลาดหุ้น BLACKPINK เซ็นสัญญาวงเรียบร้อย
ตั้ง 2 ประเด็นอุบัติเหตุรถทัวร์มรณะ! คมนาคม สั่งเร่งเยียวยา