ยูเครน ยิงขีปนาวุธถล่มสะพานในเคอร์ซอน ตัดกำลังรัสเซีย
ล่าสุดมีสัญญาณออกมาเช่นเดียวกันว่ายูเครนอาจเปิดแนวรบใหม่ในแคว้นเคอร์ซอนเพื่อยึดคาบสมุทรไครเมียคืน หลังถูกรัสเซียผนวกไปเป็นของตนเองเมื่อปี 2014
ทางการรัสเซียรายงานว่ากองทัพยูเครนได้ใช้ขีปนาวุธยิงถล่ม “สะพานชอนการ์” สะพานสำคัญที่เชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ในแคว้นเคอร์ซอนทางภาคตะวันออกและแคว้นไครเมียทางภาคใต้ของยูเครนคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ผลจากการโจมตีทำให้สะพานชอนการ์ได้รับความเสียหายบางส่วน โดยส่วนที่ถูกโจมตีกลายเป็นรูโหว่ขนาดใหญ่ เนื่องจากขีปนาวุธพุ่งทะลุผ่านตัวสะพาน
เอกสารลับที่ถูกอ้างเป็นข้อมูลข่าวกรองสหรัฐฯ คาดสงครามยูเครน-รัสเซีย มีแนวโน้มยืดเยื้อตลอดปี
การต่อสู้ดำเนินต่อ ยูเครนปักธงยึดหมู่บ้านในโดเนตสก์เพิ่ม
วลาดิมีร์ ซัลโด ผู้ว่าการแคว้นเคอร์ซอนที่แต่งตั้งโดยรัฐบาลรัสเซียระบุว่า ขีปนาวุธที่ยูเครนใช้โจมตีครั้งนี้คือ ขีปนาวุธสตอร์ม ชาโดว์ (Storm Shadow) ขีปนาวุธพิสัยไกลที่ได้รับมอบมาจากรัฐบาลของสหราชอาณาจักร โดยทีมสำรวจของรัสเซียคาดว่ายูเครนอาจยิงขีปนาวุธชนิดนี้โจมตีสะพานราวๆ 4 ลูก
แม้ว่าตัวสะพานจะได้รับความเสียหาย แต่วลาดิมีร์ คอนสแตนตินอฟ ประธานสภาแห่งรัฐไครเมียระบุว่า สะพานชอนการ์จะถูกบูรณะให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติในเร็วๆ นี้
ด้านผู้จัดการรถโดยสารสาธารณะที่ต้องใช้สะพานชอนการ์เป็นเส้นทางเดินรถระบุว่า สะพานนี้มีความสำคัญมาก เนื่องจากเป็นสะพานที่เชื่อมระหว่างคาบสมุทรไครเมียกับแคว้นเคอร์ซอน แคว้นซาโปริซเซีย และภูมิภาคดอนบาส
เมื่อสะพานถูกโจมตีจนได้รับความเสียหาย ทำให้เส้นทาง 5 เส้นทางที่จะเชื่อมจากแหลมไครเมียไปยังเมืองเมลิโตปอลถูกยกเลิกทั้งหมด
สะพานชอนการ์อยู่ตรงไหนและมีความสำคัญอย่างไรจนตกเป็นเป้าในการโจมตี สะพานชอนการ์ตั้งอยู่บริเวณช่องแคบชอนการ์ ช่องแคบสำคัญที่แบ่งคาบสมุทรชอนการ์ทางตอนเหนือ บริเวณแคว้นเคอร์ซอนออกจากคาบสมุทรทูป-ดชานกี ทางตอนใต้ บริเวณคาบสมุทรไครเมีย โดยได้ชื่อว่าเป็น Gate to Crimea หรือประตูสู่ไครเมีย
ตัวสะพานทำหน้าที่เชื่อมต่อกับระหว่างถนนในเมืองดชานกี เมืองฐานทัพอากาศของไครเมีย ลากต่อไปยังถนนในเมืองเฮอร์นิเชสก์ และเมลิโตปอล เมืองสำคัญในแคว้นซาโปริซเซีย ที่เป็นศูนย์กลางการขนส่งเสบียงของรัสเซียไปยังพื้นที่เคอร์ซอนตะวันออกและภูมิภาคดอนบาส
ด้วยความสำคัญทางยุทธศาสตร์ด้านการขนส่งเสบียง ทำให้สะพานชอนการ์ตกเป็นเป้าโจมตีของฝั่งยูเครนผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการโจมตีสะพานชอนการ์จะสร้างโอกาสให้ยูเครนสามารถยึดพื้นที่เคอร์ซอนตะวันออกและเมืองเมลิโตปอลได้ง่ายขึ้น เพราะรัสเซียไม่สามารถส่งกำลังบำรุงให้ทหารในพื้นที่ได้อย่างเต็มที่
อย่างไรก็ดี แม้ว่าการโจมตีสะพานชอนการ์จะสร้างข้อได้เปรียบให้ยูเครน แต่ก็นำความกังวลมาสู่หลายฝ่าย เนื่องจากสะพานดังกล่าวถือว่าอยู่ในเส้นแดงหรือ Red line ที่รัสเซียเคยประกาศไว้ว่าห้ามใช้อาวุธจากชาติตะวันตกโจมตี
เนื่องจากรัสเซียเชื่อว่าพื้นที่ต่างๆ บนคาบสมุทรไครเมียถือเป็นแผ่นดินของรัสเซียทั้งในทางกฎหมายและทางปฏิบัติจากการผนวกมาด้วยการทำประชามติตั้งแต่ปี 2014 หรือ 9 ปีก่อน นอกจากนี้ บนคาบสมุทรไครเมียที่มีประชากรราว 2,500,000 คน มีกว่า 1,700,000 คน ราวร้อยละ 76 เป็นชาวรัสเซีย ซึ่งนี่เป็นเหตุผลที่รัสเซียระบุว่าคาบสมุทรไครเมียเป็นพื้นที่ที่มีชาวรัสเซียอยู่และเป็นแผ่นดินรัสเซียเช่นเดียวกับแคว้นอื่นๆ บนแผ่นดินใหญ่
ย้อนกลับไปเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา พลเอกเซอร์เก ชอยกู รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมรัสเซียได้พูดในที่ประชุมเจ้าหน้าที่ระดับของกระทรวง โดยระบุว่ายูเครนกำลังวางแผนโจมตีคาบสมุทรไครเมียด้วยเครื่องยิงจรวดไฮมาร์สและขีปนาวุธสตอร์ม ชาโดว์
ขณะเดียวกัน พลเอกชอยกู ได้ประกาศคำขาดชัดเจนว่า ถ้ายูเครนใช้อาวุธจากชาติตะวันตกโจมตีคาบสมุทรไครเมีย รัสเซียจะยิงขีปนาวุธถล่มศูนย์บัญชาการ รวมถึงทำเนียบประธานาธิบดีของยูเครนในกรุงเคียฟ
คำพูดเช่นนี้ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมรัสเซีย มีขึ้นเพียงหนึ่งหลังจากที่ประธานาธิบดีไบเดนของสหรัฐฯ ออกมาเตือนว่า ภัยคุกคามด้านนิวเคลียร์จากรัสเซียมีอยู่จริง เนื่องจากวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย กล่าวชัดว่า หัวรบนิวเคลียร์ที่รัสเซียส่งไปประจำการในเบลารุส จะพร้อมใช้งานในไม่อีกไม่ช้า ถ้ารัสเซียถูกคุกคามบูรณภาพทางดินแดน หรือคุกคามการมีอยู่ของชาติ
ด้วยท่าทีของรัสเซียที่ไม่ตัดความเป็นไปได้เรื่องการใช้นิวเคลียร์กับยูเครน ทำให้เมื่อวานนี้ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐสภาสหรัฐฯ ได้ออกมาแสดงจุดยืนชัดเจนเพื่อเตือนรัสเซีย
ลินด์เซย์ แกรแฮม วุฒิสมาชิกประจำวุฒิสภาของสหรัฐฯ จากพรรครีพับริกันและริชาร์ด บลูเมนธาล วุฒิสมาชิกประจำวุฒิสภาของสหรัฐฯ จากพรรคเดโมแครต ได้ออกมาร่วมกันเสนอมติตอบโต้รัสเซียที่ส่งมอบอาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธวิธีแก่เบลารุส
ข้อมติตอบโต้รัสเซียดังกล่าวระบุว่า การใช้อาวุธนิวเคลียร์เชิงยุทธวิธีโดยรัสเซีย เบลารุส หรือตัวแทนของรัสเซีย รวมไปถึงการวางแผนทำลายโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาโปริซเซีย จนเกิดสารกัมมันตภาพรังสีรั่วไหลกระจายไปยังดินแดนของชาติสมาชิกนาโต จะถือเป็นการคุกคามชาติสมาชิกนาโตโดยตรง
หากเกิดเหตุการณ์เช่นนั้นขึ้นจริง จะถือได้ว่ารัสเซียกำลังโจมตีชาติสมาชิกนาโตทั้งหมด และทางองค์การมีสิทธิที่จะใช้หลักการป้องกันร่วมกันเพื่อโจมตีภัยคุกคาม หรือ collective defence ตามมาตรา 5 ของนาโต
สว.ทั้งสองย้ำว่าที่ต้องออกมาแถลงเช่นนี้ เป็นเพราะต้องการป้องกันภัยทางนิวเคลียร์ที่รัสเซียอาจจะก่อขึ้น ด้วยการส่งสารที่ชัดเจนไปยังประธานาธิบดีปูตินและคนรอบข้างว่าจะต้องพบเจอกับอะไรถ้าใช้อาวุธนิวเคลียร์หรือก่อหายนะนิวเคลียร์ในยูเครน
สว.ริชาร์ด บลูเมนธาล ได้เตือนประธานาธิบดีปูตินชัดเจนว่า ควรพิจารณาสิ่งที่พวกเขากำลังส่งสารไปหาอย่างถี่ถ้วน และถ้าประธานาธิบดีปูตินตลอดจนพรรคพวกตัดสินใจใช้อาวุธนิวเคลียร์จริง พวกเขาจะถูกกองทัพของนาโตกำจัดทิ้งทั้งหมด